มนุษย์เราในปัจจุบัน อาจจะถึงหนึ่งในสามซึ่งเคยมีประวัตินอนไม่หลับอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต
ผลจากการอดนอน 3 วัน 72 ชั่วโมง จะทำให้ความจำไม่ดี เห็นภาพหลอน พูดช้าลง
อาหารที่มีวิตะมินB6 และวิตะมินB12 หรือว่าอาหารที่เป็นกรดอะมิโนบางตัว ซึ่งพบได้ในกล้วยหอม ข้าวโพด คาร์โบไฮเดรตจากขนมปัง โยเกิร์ต และน้ำผึ้ง ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นได้ แต่ถ้ารับประทานอาหารเหล่านี้มากเกินไป จะเกิดปัญหาคือ นอนหลับฝันร้าย กรดไหลย้อน เป็นต้น อาหารที่ทำให้นอนหลับได้ดีไม่ควรมีโปรตีนมาก จึงไม่ควรรับประทานอาหารหนัก ๆ ประเภทเสต็กในมื้อเย็น
หลายคนอาจคิดว่าการนอนหลับเป็นเรื่องธรรมดา แต่หลายชนชาติทั่วโลกก็มีเรื่องราวการนอนที่แปลกและคาดไม่ถึง เช่น การนอนหลับกลางวันเป็นกิจวัตรประจำวันของคนเสปนและเป็นประเทศต้นกำเนิดของวัฒนธรรมการนอนกลางวัน และแพร่หลายไปยังประเทศฝรั่งเศสและอีกหลายประเทศ
ในแถบอาหรับก็มีวัฒนธรรมการนอนกลางวันเช่นกัน ได้แก่ อียิปต์ ซีเรีย รวมถึงอินเดีย เอเชียใต้ แอฟริกาเหนือ
ประเทศเหล่านี้จะหยุดกิจกรรมทุกอย่างเพื่อนอนพักในตอนเที่ยงวัน
มีเรื่องแปลกเกี่ยวกับการนอนของบุคคลชื่อดังระดับโลกหลายคน เช่นพระเจ้านโปเลียนมหาราช กษัตริย์นักรบแห่งฝรั่งเศส ที่นอนน้อย เพื่อให้เวลากับการศึกษาเล่าเรียน แต่กลับงีบหลับระหว่างทำสงคราม
Charles Dickens นักประพันธ์ชื่อดังชาวอังกฤษเป็นคนตาแข็งหลับยาก เค้าเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้นอนหลับได้ ก็คือการนอนตรงกลางเตียง และหันหน้าไปทางทิศเหนือเท่านั้น
ส่วน Leonardo da Vinci ปราชญ์คนสำคัญของโลก มีตารางการนอนแปลกประหลาดไม่เหมือนใคร ในทุก ๆ 4 ชั่วโมงเค้าจะนอนหลับเป็นเวลา 15 นาที ซึ่งรวมแล้วในแต่ละวัน เค้าจะนอนแค่ 90 นาทีเท่านั้น
ชาวเอสกิโมนอนในกระท่อมน้ำแข็ง และเพราะอากาศที่หนาวจัด เค้าจะแสดงไมตรีจิตให้กับแขกผู้มาเยือน ด้วยการยกภรรยาตนเองให้หลับนอนกับแขก เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น
ชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยและขยันที่สุดในโลก และเป็นชนชาติที่นอนน้อยที่สุดในโลกเช่นกัน ที่นอนของชาวญี่ปุ่นทั้งเล็กและเรียบง่ายปูราบไปกับพื้น ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นอนหันหัวไปทางทิศใต้ซึ่งถือว่าเป็นทิศมงคลของชาวอาทิตย์อุทัย
การนอนหลับของชาวยิปซีทะเลหรือชาวมอร์แกนที่จังหวัดภูเก็ต ทุกวันที่ 13 หรือ 15 ค่ำของทุกปี ชาวมอร์แกนและครอบครัวจะช่วยกันสร้างเพิกพักเพื่อใช้นอนหลับริมชายหาดเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ชาวมอร์แกนสืบทอดมาแต่โบราณ เพื่อเป็นการแก้บนสะเดาะเคราะห์
No comments:
Post a Comment